ดอกบัว
ตามตำนานของอินเดียนแดงเผ่าดาโกต้า
นางฟ้าองค์หนึ่งได้จุติในโลกมนุษย์ เพื่อมาเป็นภรรยาชองหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง ทั้งสองอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขจนมีลูกชายด้วยกันหนึ่งคน
เมื่อลูกชายโตขึ้นตามประเพณีการสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าเผ่าจะตกเป็นของลูกชาย
เพื่อความแน่ใจว่าลูกชายจะสามารถทำหน้าที่นี้ได้
เขาจึงส่งลูกชายพร้อมภรรยาของเขานั่งเรือคานู ข้ามทะเลสาบไปปรึกษาผู้รู้ว่าเด็กคนนี้จะสามารถเป็นหัวหน้าเผ่าแทนผู้เป็นพ่อได้หรือไม่ ในขณะเดินทางเรือได้ชนเข้ากับโขดหิน
เมียรักของหัวหน้าเผ่าจมน้ำหายไปอย่างไร้ร่องรอย
แต่เช้าวันรุ่งขึ้นบริเวณโขดหินนั้นมีดอกบัวสีเหลืองปรากฎขึ้น
ตำนานอินเดีย
ตำนานของชาวอินเดียเล่ากันว่าวันหนึ่งหน้าผากของพระวิษณุ
ก็มีดอกบัวผุดขึ้นมา และเมื่อบัวนั้นบานก็มีพระลักษมีเทวีประทับอยู่ข้างใน
พระลักษมีจึงมีชื่อที่แปลว่าดอกบัวหลายชื่อ เช่น ปัทมา,กมลาษณา และชาวอินเดียก็ถือว่าดอกบัวเป็นเครื่องหมายของการกำเนิดชีวิต
บางตำนานพระแม่มหาลักษมีได้ถือกำเนิด
ในขณะมีการกวนเกษียรสมุทร กล่าวคือตอนที่เหล่าเทวดาทั้งหลาย
ทำพิธีกวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤตโดยเหล่าเทวดาและอสูร
เมื่อพิธีการกวนเกษียรสมุทรหรือกวนน้ำอมฤต สำเร็จผลได้บังเกิดสิ่งวิเศษ ๑๔ อย่าง
อาทิ น้ำอมฤต นางอัปสร เทวดา
สิ่งของวิเศษต่าง ๆ รวมทั้งสัตว์เทวะ และบังเกิดพระแม่ลักษมีปรากฏรูปกายขึ้น
พระองค์ประทับกลางดอกบัวหลวงสีแดง ทรงพระสิริโฉมงดงามยิ่งนัก
ยิ่งกว่าสตรีใดในโลก
ฉลองพระองค์อย่างนางกษัตริย์
ผิวพรรณดุจทองคำ กลิ่นกายหอมรัญจวนด้วยกลิ่นดอกบัว
กลิ่นหอมไกลถึง 10โยชน์
พระองค์เป็นเทพเจ้าแห่งสิริโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง ความมั่งคั่ง ความอุดมสมบูรณ์
ความดีงาม ความรักที่สมหวัง และความโชคดี
พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์แบบของสตรีทั่วพื้นพิภพ
ด้วยขณะนั้นพระแม่ได้ปรากฏกลางดอกบัวนั้น
พระนารายณ์ทรงอวตารเป็นเต่าใหญ่รองรับเขามันทระเพื่อไม่ให้โลกถึงการแตกสลาย ไว้ ได้แลเห็นพระแม่ลักษมีจึงเกิดความพึงพอใจอย่างมาก
ดังนั้นด้วยอำนาจฤทธิ์เดชที่มีจึงบันดาลให้พระแม่ลักษมีมาเป็นชายาของ พระองค์
ในด้านคัมภีร์วิษณุปุราณะ
กล่าวว่าพระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤาษีภฤคุกับนางชยาติ ส่วนตำนานอื่น
ๆ กล่าวไว้ ดังนี้ พระแม่ลักษมีเกิดจากดอกบัวหลวง ต่อมาได้เข้าเฝ้าพระนารายณ์โดย
ได้ถือดอกบัวหลวงไปเข้าเฝ้าด้วย พระนารายณ์เกิดพึงพอพระทัยในพระแม่ยิ่งนักจึงได้อภิเษกเป็นพระชายาในที่สุด พระนามที่ได้เรียกขานพระนางลักษมี มีมากมาย อาทิ ชลธิชา ผู้เกิดแต่น้ำ
(เหตุจากคัมภีร์รามายณะ)
ปัทมา ผู้มีดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ ภควดี หญิงงามทั้งรูปและกิริยา มารยาท
มีวาจาไพเราะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น